วิธีต่อปั๊มน้ำอัตโนมัติ

🙂 เนื้อหายาวหน่อยแต่เขียนด้วยความเป็นหว่ง

**รูปที่แสดงเป็นแค่ตัวอย่างการต่อแบบง่าย ท่านสามารถเพิ่มหรือลดอุปกรณ์ได้ ตามงบ และพื้นที่

***ควรศึกษาคู่มือ และปัจจัยต่าง ๆ ก่อนติดตั้งปั้มน้ำ เช่น ขนาดท่อ ระยะดูด ส่ง น้ำ กำลังมอเตอร์ และกระแสไฟฟ้า

***ขนาดของอุปกรณ์ตัวอย่าง ตามบ้านทั่วไป คือ

– มิเตอร์น้ำขนาด 1/2″ (4หุน) , -เกลียวในถังน้ำ 1 “(1นิ้ว)

-เกลียวในของปั้มน้ำ 1 “(1นิ้ว) , -ท่อและอุปกรณ์ในบ้าน 1/2” (4หุน)

-ท่อและอุปกรณ์ประเภท PVC

== ปั้มน้ำ อัตโนมัติ == เป็นปั้มน้ำที่สามารถเปิดปิดตัวเองได้ (สามารถเสียบปลั๊กปั้มน้ำทิ้งไว้ได้) เพราะมี สวิตแรงดัน เป็นตัวเปิดปิด มอเตอร์ปั้มน้ำ หากมีแรงดันสูงจนถึงจุดที่กำหนด จะทำการหยุดมอเตอร์ปั้มน้ำ และหากมีการเปิดน้ำ(ซึ่งทำให้แรงดันในระบบประปา ลดลง) ปั้มน้ำก็จะทำงานเพื่อเพิ่มแรงดันในระบบท่อประปา ให้ได้ตามที่ถูกตั้งค่าไว้ … โดยการติดตั้งจะต้องระวังปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย เช่น

แหล่งน้ำ
***การต่อปั้มน้ำที่ดีที่สุดคือต่อจากแท็งน้ำหรือบ่อน้ำที่มีน้ำสะอาด เพราะเป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำแน่นอน เพราะบางครั้งน้ำประปาจากมิเตอร์ หรือแหล่งน้ำไหลในธรรมชาติ จะมีน้ำน้อย หรือไม่มี ทำให้ปั้มอาจจะมีปัญหาได้ เช่น มอเตอร์ไหม้เพราะดูดลม หรือการอุดตันเพราะขยะ หรือตะกอน

แหล่งไฟฟ้า
-ประเทศไทย แรงดันไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป คือ 220v ควรเลือกปั้มน้ำที่ใช้ด้วยกันได้

-ควรคำนวนกำลังมอเตอร์ ให้พอดีกับ มิเตอร์จ่ายไฟฟ้า ให้สอดคล้องกัน เพราะ ปั้มน้ำที่มีแรงม้ามอเตอร์มากเกินไป เช่น 1.5-2 แรงม้านั้น ไม่ควรใช้กับบ้านที่มี มิเตอร์จ่ายไฟฟ้า 5 A(15A) เพราะเมื่อปั้นน้ำเริ่มทำงาน มอเตอร์จะกินไฟฟ้าเป็น 2 เท่าของกำลัง จะทำให้ระบบไฟฟ้าในบ้านกระตุ้ก กระชากได้ จนทำให้อุปกรณ์ในบ้านตัวอื่น ๆ อาจจะเสียหายได้

ท่อน้ำ
-** ความหนา ควรเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันน้ำ โดยคู่มือมักแนะนำให้ใช้ ความหนามากที่สุด เช่นในท่อ PVC คือ ชั้น 13.5 ในส่วนท่อดูด และ ชั้น 8.5 ในระบบท่อส่ง แต่ควรถือความเหมาะสม (และกำลังทรัพย์)เป็นหลัก เช่นปั้ม 350w ควรใช้แบบ ชั้น 13.5 ทั้ง ระบบดูดและส่ง หรือท่อ PPR ก็ความอ่านคู่มือประกอบเรื่องแรงดันและความร้อน
–**ขนาดท่อ ความเดินท่อหลัก ให้เท่ากับขนาดของทางออกและดูดของปั้ม เช่น ปั้มน้ำมีทางทางดูดและส่ง 1 นิ้ว ก็ควรเดินท่อขนาด 1 นิ้ว ทั้งดูดและส่งเช่นกัน ควรเดินท่อขนาด 1 นิ้วให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วค่อยลดขนาด ณ จุด ใช้งาน เช่นก็อกน้ำ ก็ใช้ สามทางลด 1นิ้ว x 1/2(ครึ่งนิ้ว หรือ 4หุน) เพื่อให้ทุกจุดมีน้ำเลี้ยงขนาด 1 นิ้วตลอดเวลา
—- ***หากเป็นไปได้ควารใช้ท่อ PPR (ท่อแบบเชื่อมติดด้วยความร้อนเป็นเนื้อเดียวกัน ลดการรั่วของน้ำ) เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของระบบน้ำเพราะทนต่อแรงดัน และความร้อน แต่ ราคาท่อและอุปกรณ์สูง และซ่อมยากมาก เพราะต้องมีเครื่องเฉพาะในการต่อ


ข้อต่อ
*–ลดการใช้ ข้องอ 90 ํ ให้มากที่สุด เพื่อให้แรงดันน้ำไม่ถูกลดทอน

*–ข้อต่อเกลียวต่าง ๆ หากงบพอ ควรเลือกแบบ กึ่ง ทองเหลือง เช่น ต่อตรงเกลียวในทองเหลือง , ต่อตรงเกลียวนอกท่อเหลือง เพื่อความทนทานและการเข้าเกลียวได้แน่น เพราะบางครั้ง เกลียวแบบ พีวีซี หาเข้าเกลียวแน่นเกินไปอาจจะทำให้หักหรือเกลียวล้มได้

ประตูน้ำ
**อย่างน้อยควรมีประตูน้ำที่ทางออกของปั้ม เพื่อง่ายต่อการซ้อมบำรุง และการตรวตสอบระบบการเปิด-ปิด ปั๊มอัตโนมัติว่าทำงานปกติหรือไม่ เพราะหากมีการต่อน้ำเข้าระบบน้ำในบ้าน ((ซึ่งอาจจะอยู่ในปูน หรือมุมอับ) ทั้งบ้านเก่าและใหม่) จะตรวจสอบจุดยาก เราสามารถตัดปัญหาเป็นช่วง ๆ ได้ ว่าทำไม ปั๊มน้ำทำงานตลอดเวลา

***สามารถติดเพิ่มตามการแบ่ง โซน ต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง โซนนั้น ๆ จะได้ไม่กระทบไปทั้งระบบน้ำ เช่น ท่อน้ำในห้องน้ำเสีย ก็ปิดประตูน้ำที่ โซนห้องน้ำ แทนที่จะปิดที่ปั้มน้ำ ซึ่งจะทำให้ระบบน้ำทั้งบ้านหยุดไหล เป็นต้น

น้ำยาทาท่อ
*** การติดตั้งปั้มน้ำควรที่จะรอให้น้ำยาทาท่อแห้งสนิดดี ก่อนทดสอบหรือใช้งาน ตามข้อแนะนำของสินค้า (อย่างน้อย 2-3 ชม. ก็ยังดีในแบบน้ำยาปกติ) แต่หากใจร้อนควรใช้แบบน้ำยาแบบแรงดันเพราะแห้งเร็ว 15 นาที (ตามคำแนะนำข้างสินค้า) ก็สามารถทดสอบน้ำรั่วได้แล้ว

***ส่วนเรื่องยี้ห้อควรใช้ยี้ห้ออย่างดี

เทปพันเกลียว
***ควรใช้เทปพันเกลียวในปริมาณ ทิศทางเกลียว(พันเทปตามเข็มนาฬิกา หรือพันเข้าตนเอง) และ ความหนา ที่เหมาะสมไม่มากจนหมุนเกลียวไม่ได้ หรือบางจนขาด

การกรอกน้ำ
***ควร กรอกน้ำ ( เติมน้ำ , ล่อน้ำ) ที่ปั๊มน้ำให้เต็มพอดีก่อนเริ่มทำงาน จะช่วยยืดอายุระบบซีลยางต่าง ๆ และการดูดน้ำ ไม่ต้องกรอกทุกครั้ง มักจะกรอกในกรณีติดตั้งใหม่ หรือ น้ำขาดถัง

***สปริงในปั้มน้ำที่ทำหน้าที่กันน้ำย้อนกลับ ควรติดตั้งให้สัมพันธ์กับแหล่งน้ำของเรา (หรือตามคู่มือ)

รองสุดท้าย

***การเปลี่ยนปั้มใหม่ (ในบ้านหรือระบบประปาเดิม (เก่า)) ควรเลือกกำลังมอเตอร์เท่าเดิม หรือแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะหากปั๊มน้ำแรงเกินไปมาก จะทำให้จุดข้อต่ออาจเกิดการหลุดหรือรั่วได้ เพราะบ้านเก่าน้ำยาที่ทาท่อเดิมเริ่มหมดประสิทธิภาพแล้ว และ การใช้งาน คนใช้งานน้ำเดิมจะได้ไม่ตำหนิว่าทำไมน้ำเบาลง .. วิธีแก้แบบทางอ้อม คือ 1.การติดตั้งประตูน้ำที่หน้าปั้ม(ใหม่ที่แรงกว่าเดิม) หรือหลัง เพื่อปรับปริมาณน้ำเข้าหรืออกให้น้อยลง แต่ก็มีข้อเสียบ้าง คือมอเตอร์ทำงานจะทำงานหนักเพราะอั้นน้ำ , หรือมีอากาศในปั้ม 2.ต่อข้องอในระบบประปาให้มากขึ้น เพราะ ข้องอจะทำให้แรงดันปลายตกลง ได้บ้าง

สุดท้ายนี้ : 1.ยังมีวิธีต่อแบบอื่น ๆ อีกมากมาย ควารศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนการต่อ หรือ แอบไปดูบ้านคนอื่นที่ต่อได้มาตราฐาน ขอบคุณสำหรับการทนอ่าน

2.ห้าม การสูบน้ำโดยใช้ปั้มน้ำ ต่อตรงจากมิเตอร์มีความผิดตามกฎของการประปา และตัวมิเตอร์จะชำรุดได้

3.ระบบทางสำรองน้ำ (ByPass) คือการต่อน้ำหลังมิเตอร์น้ำ เข้ากับระบบน้ำของบ้านโดยตรง หากในกรณี ปั้มน้ำเสีย, ไฟดับ ,ท่อแตก หรือ ถังน้ำมีปัญหา ฯลฯ ระบบน้ำในบ้านจะยังพอไหลได้บ้าง (ขึ้นอยู่รับแรงดัน ท่อประปาหลวง ณ จุดๆ นั้น ) โดยจะต้องมี ประตูน้ำ (ตั้งมาเปิด-ปิดเอง) หรือ ตัวกันกลับ ((Check Value)น้ำประปาไหลเข้าบ้านเอง ) เป็นตัวปิดระบบนี้ไม่ให้ตีกับการทำงานของปั้มน้ำ ณ เวลาได้ปกติ

4.การกรองน้ำ (การทำให้น้ำสะอาด) ควรติดตั้ง อุปกรณ์กรองน้ำ ด้านทางออกของปั้ม เพราะ การกรองน้ำต้องการแรงดันที่สูง ซึ่งมาตราฐานปั้มทั่วๆไป ด้านทางเข้าจะมีแรงน้ำน้อยกว่า ด้านทางออกปั้มน้ำ

ติดต่อสั่งซื้อ ปั๊มน้ำ และสินค้าอื่น ๆ ได้ที่ ร้านระนองเคหะภัณฑ์ 077824976